พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปะปนกับศิลปะลังกาโดยเฉพาะไม่มีลายกนกเห็นว่าเป็นศิลปะลังกาอย่างเด่นชัด
พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อสำลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที
ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่งคือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดงๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกขององค์พระ”
พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤๅษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
พระกำแพงซุ้มกอที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่พุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่องเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภจนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่อง จึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอกันทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากด้วย