พระภูธราวดี พิมพ์ซุ้มประตูทอง (ยอดขุนศึก) ปี 2506 ท่านขุนพันธ์สร้างแจกเมื่อคราวเกษียณอายุราชการ เกจิที่ปลุกเสกอาทิ อ.ปาน วัดเขาอ้อ อ.นำ อ.คง วัดบ้านสวน ลพ.เขียว วัดหรงบน พ่อท่านคล้าย และเกจิอื่นๆ
พระพุทธภูธราวดี ปี2506 โค๊ดด้านหลังปั๊มยันต์สามตัวพระดีปีลึก เป็นพระอีกรุ่นหนึ่งที่สุดยอดพิธีสุดยอดประสบการณ์และสุดยอดเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก พระอีกหนึ่งพระเครื่องที่มีประวัติการสร้างที่แน่นอนพิธีดีเจตนาดี เป็นพระดีแห่งเมืองใต้ที่น่านำมาขึ้นคอ และหามาบูชา เป็นพระดีที่ถูกเก็บเงียบๆ จากบันทึกของขุนพันธ์ชื่อ “เรื่องอาจารย์นำ แก้วจันทร์” เขียน เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๐ ปี กล่าวว่าพ.ศ.๒๕๐๕ พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต กับผมได้สร้างพระพิมพ์ภูธราวดีด้วยผงว่าน ยาแก้-ยากันต่างๆ ผงพระ ผงวิเศษ ดินเสื้อเมือง-หลักเมือง ตะไคร่จากพระธาตุเจดีย์ทั่วประเทศ ดินท้องถ้ำ ดินยอดเขาที่มีชื่อเป็นมงคลดินสังเวชนีย์ สถานจากอินเดียโดยพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล ทรงประทาน กับได้เททองหล่อพระประธานแบบทวาราวดี ถวายวัดพระปฐมเจดีย์ สร้างศาลากตัญญูธรรมไว้ที่หน้าองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระซึ่งหล่อขึ้นในครั้งนั้น กับสร้างพระกริ่ง ภูธราวดีด้วยเนื้อทองนวโลหะ พระเครื่องที่สร้างขึ้นครั้งนี้ได้นำไปแจกตำรวจ ทหารทั่วประเทศ บุคคลทั่วไปตามสมควรไม่มีการให้เช่า
โดยพิธีการจัดสร้างนั้นเยี่ยมยอดทุกขั้นตอนตั้งแต่เจตนาการสร้าง การคัดสรรมวลสาร พิธีพุทธาภิเษกที่ปลุกเสกกันถึง ๓ ครั้ง ๓ ครา มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสม ผงชุดภูธราวดี ได้แก่ ๑. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย ๒.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่างๆ ประมาณ ๔๐๐ ชนิด ๓.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร ๔.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ ๕.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา ผงจากพระคณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญต่างๆ
ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ จำนวน ๑๖๘,๐๐๐ องค์ ทุกๆ ๑๐๐ องค์ จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป ๑ องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา พระพิมพ์ทวารวดี พระพิมพ์ซุ้มประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน ๑,๖๘๐ องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์ คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก ๕ นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้ ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่ง พระบูชาธราวดี ซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะ ซึ่งก่อนการจัดสร้าง พระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน ทอง นาค เงิน ดีบุก ให้คณาจารย์ต่างๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วม พิธีลงจารอักขระ มาด้วย
พิธีพุทธาภิเษกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น ๓ ครั้งด้วยกันได้แก่ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำ กันอยู่เป็นเดือนๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทาน ทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้พพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องถือพรหมจรรย์ ห้ามรับของต่อมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา ๙ รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรม ด้วยน้ำมันจันทน์หอมอย่างดีจึงจะนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกต่อไป (เป็นเรื่องแปลกขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลม ตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหาย แต่ในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวงไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลย แม้กระเบื้อง มุงหลังคาสักแผ่นเดียว
พิธีพุทธาภิเษกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีเกจิอาจารย์สำคัญของภาคใต้เข้าร่วมพิธีแทบทุกองค์ โดยเฉพาะ เกจิอาจารย์ทางสายเข้าอ้อ อาทิเช่น อาจารย์ปาล วัดเข้าอ้อ อาจารย์คง วัดบ้านสวน หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก อาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ขณะนั้นยังเป็นฆราวาส ยังไม่ได้บวชอยู่ใน สมณะเพศ) พ่อท่านเขียว วัดหรงบล ฯลฯ ร่วมในพิธี ครั้งที่ ๓ ทำพิธีพุทธาภิเษกที่จังหวัดนครปฐมมีทั้งพราหมณ์ พระไทย จีน พระญวน ในนิกายต่างๆ รายนามพระคณาจารย์ต่างๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่ ๑.สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๖ ๒.พระมหาวีรวงศ์-พิธีเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช ๓.พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ ๔.พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน ๕.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก ๖.อาจารย์นำ วัดดอนศาลา (ขณะเข้าพิธียังเป็นฆราวาสอยู่ มีรูปถ่ายปรากฏเป็นหลักฐาน) ๗.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม ๘.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ๙.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาบางแก้ว ๑๐.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ๑๑.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ ๑๒.หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน ๑๓.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ๑๔.พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ ๑๕.หลวงพ่อคล้าย (วาจาสิทธิ์) วัดสวนขันธ์ ๑๖.หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ฯลฯ นอกจากนี้มีเกจิฯ อีกมากมายที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าพิธีพุทธาภิเษก ทั้ง ๓ ครั้ง และไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้
มูลเหตุแห่งการสร้างและผู้ดำเนินการจัดสร้าง พระเครื่องชุดนี้สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าของนายตำรวจ ๒ ท่านได้ แก่ พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต ท่านผู้นี้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปราม เคยพิชิตเสือชื่อดังต่าง ๆ ในยุคหลังสงครามที่โด่งดังใน ภาคกลางมากมายเช่น เสือใบ เสือเจริญ เสือผาด มีฉายาว่าเป็นมือปราบหนังเหนียวเนื่องจากการปะทะกับพวกโจรขณะเดินทาง จากนครปฐม เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๔๙๕ โดยปรากฏหลักฐานว่าในขณะเกิดเหตุ ท่านพกพระท่ากระดาน และลูกอม ของหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (น่าจะเป็นสาเหตุให้พระท่ากระดานมีราคาสูงมาตั้งแต่ครั้งนั้น ) พล.ต.ต.ขุนพันธ์ รักราชเดช นามเดิม ชื่อ บุตร์ พันธรักษ์ ท่านผู้นี้มีเสียงโด่งดังทางสายปราบปรามเช่นกัน มีฉายาเป็นภาษายาวี "รรยอกะจิ"เคย พิชิตเสือร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางภาคใต้ทางแถบเทือกเขาบูโดจังหวัดนราธิวาส เช่น ขุนโจร อาแวสะดอ ที่กล่าว กันว่าหนังเหนียวเพราะเขี้ยวหมูทอง แดง อ้ายดำหัวแพร เป็นต้น ท่านผู้นี้เป็นศิษย์ฆราวาสของสำนักเขาอ้ออันโด่งดัง นอกจากนี้ยังมี บุคคลสำคัญที่ช่วยในการจัดเตรียมวัสดุมงคลเพื่อการจัดสร้างพระโดย พลตรีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล แต่มูลเหตุ หลักในการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้ นอกเหนือจากศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาของคณะผู้ร่วมจัดสร้างแล้ว ยังต้องการ จะนำไปแจกจ่ายให้ผู้ศรัทธา
และมีปรากฏในบันทึกของพล.ต.ท.ประชา ว่าได้มีการจัดพระเครื่องชุดนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๖ โดยรายการที่จัดพระเครื่องทูลเกล้า ถวายมีดังนี้ ๑. พระเครื่องภูธราวดี ๓๐๙ องค์ ในจำนวนนี้มีเลี่ยมทองคำรวม ๕ องค์ ๒.พระเครื่องคะแนน ปางปฐมเทศนาจำนวน ๓ องค์ ๓.พระเครื่องคะแนนพิมพ์พระนางตราจำนวน ๓ องค์ ๔.พระเครื่องคะแนนพิมพ์ประตูทอง จำนวน ๓ องค์ ๕.พระกริ่งภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน ๒ องค์ ๖.พระกริ่งยอดธงภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน ๙ องค์ (จัดสร้างเฉพาะเพื่อทูลเกล้าถวาย ๙ องค์เท่านั้น) นับได้ว่าเป็นพระเครื่องอีกหนึ่งชุดที่มีทั้งเจตนาสร้างดี มวลสารดี พิธีเยี่ยม นอกจากนั้นทางด้านพุทธคุณก็ไม่แพ้ใครประสบการณ์นับครั้งไม่ถ้วน
“ เมื่อใจมีศรัทธา ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “ |