...ปฐมบทปางนาคปรก...ครั้งนั้น ได้บังเกิดเมฆใหญ่ขึ้นในสมัยมิใช่ฤดูกาล เป็นฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอด ๗ วัน ลำดับนั้น พญานาคมุจลินท์ได้ออกจากที่อยู่ของตนไปโอบรอบพระกายของ พระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเหนือพระเศียรด้วยหวังว่า “ความหนาว อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ความร้อน อย่าได้เบียดเบียน พระผู้มีพระภาค สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลานอย่าได้เบียดเบียน พระผู้มีพระภาค” ครั้น ๗ วันผ่านไป พญานาคมุจลินท์รู้ว่า ฝนหายปลอดเมฆแล้ว จึงคลาย ขนดออกจากพระกายของพระผู้มีพระภาค จำแลงร่างของตนเป็นมาณพ ยืนประนมมือ ถวายอภิวาทอยู่เบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า พุทธอุทานคาถา ความสงัด๒เป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ที่มา : พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๘ ข้อที่ ๕ พระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ปางนาคปรก สวยทองเดิม กระจกเต็ม ดินเต็มแท้ดูง่าย หน้าตัก 4 นิ้วหย่อน ( 3.8 นิ้ว ) ฐาน 7 นิ้ว สูง 13 นิ้ว |