รายละเอียด |
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ จปร. 2513 จัดสร้างโดยวัดราชบพิธ ในสมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(วาส์น) ซึ่งต่อมาทานได้รับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อจากสมเด็จป๋า วัดเชตุพน สมเด็จพระสังฆราช(วาส์น) เป็นพระสังฆราชที่น่าเลื่อมใสมากรูปหนึ่ง ถ้าศึกษาประวัติโดยละเอียด ท่านเป็นพระที่ถ่อมตน เป็นที่เคารพนับถือของพระสายกรรมฐานและพระเกจิอาจารย์ต่างๆในสมัยนั้น เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระโหง หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง หลวงพ่อกัสสปมุนี เป็นต้น สำหรับศิษย์ที่ใกล้ชิดที่เคยอยู่กับสมเด็จสังฆราช(วาส์น) เท่าที่เราทราบมามีหลวงปู่ภูพาน ที่สกลนคร มาต่อเรื่องพระกริ่งพระชัยวัฒน์ จปร. ปี 2513 ซึ่งจัดสร้างโดยวัดราชบพิธ ในวาระครบรอบร้อยปีการสร้างวัดราชบพิธ ถือว่าเป็นงานพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากๆของวัดราชบพิธ นับตั้งแต่ปี2481 พิธีนี้อาจถือเป็นงานใหญ่ที่สุดของวัดราชบพิธ ในช่วงหลังปี2500ก็ได้ พระเครื่องที่จัดสร้างในพิธีนี้นอกจากพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ก็มีเหรียญรัชกาลที่5รุ่นปืนแตก พระหูยาน จปร เหรียญพระสังฆราชกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แหวนนพเกล้า บาตรน้ำมนต์ เหรียญพิมพ์นาคปรก พระบูชารัชกาลที่5 เป็นต้น พระชุดนี้มีพิธีปลุกเสกใหญ่มากที่สุดของวัดราชบพิธ นับตั้งแต่ปี 2481 เนื่องจากวัดราชบพิธ เป็นวัดหลวงสายธรรมยุต ดังนั้นการจัดสร้างจึงทำอย่างละเอียดมีขั้นตอนชัดเจน ทางวัดได้นิมนต์พระเกจิผู้ทรงคุณจากทั่วประเทศมามากถึง 108รูป โดยเฉพาะมีพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นมาเข้าร่วมพิธีมากมาย ซึ่งยากจะหาพิธีอื่นๆในยุคหลังทำได้แล้วครับ เป็นการปลุกเสกหมู่ที่รวมพระเกจิและพระกรรมฐานได้มากขนาดนี้ เนื่องจากพระรุ่นนี้จัดสร้างโดยทางวัดและไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์มาก ในช่วงต้นปี2530 ยังมีวัตถุมงคลบางประเภทเช่นพระร่วงหูยานหลังจปร. แหวนทองแดงนพเกล้า เหรียญกรมหลวงชินวร เป็นต้น แต่ปัจจุบันเท่าที่ทราบพระรุ่นนี้ไม่มีจำหน่ายที่วัดแล้ว เพราะเคยมีข่าวว่ามีคนเอาเหรียญรัชกาลที่5และพระร่วงหูยานจปร.ไปลองยิงปรากฏว่าปืนแตกเลยครับ นอกจากนี้พระรุ่นนี้มีประสบการณ์เด่นมากทุกด้าน ในหมู่ทหารก็นิยมติดตัวบูชากันมากครับ พระรุ่นนี้เมื่อหลายปีก่อนจัดเป็นของดีราคาถูก ประเภทหลักร้อยสำหรับเหรียญรัชกาลที่5และพระร่วงหูยานจปร. ตอนนี้ไม่ใช่ของหาง่ายเหมือนเมื่อก่อน ราคาที่เปิดไม่ใช่หลักร้อยแล้วครับ พระสวยๆบางคนเปิดราคาไปไกลเลยครับ แต่ในที่นี้เราขอเสนอประวัติการสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ จปร ดังนี้
พระกริ่งพระชัยวัฒน์ จปร. รุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้งสิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกปริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวันดังนี้ ๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ ๑.) หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม ๒.) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นคร ปฐม ๓.) หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา ๔.) หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี ๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ ๖.) หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร ๗.) หลวงพ่อบุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี ๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี ๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนท บุรี ๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ ๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ ๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. ๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา ๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ ๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม ๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ ๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ ๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี ๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ๙.) หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี ๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี ๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ, เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น. ๑.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ ๒.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ ๓.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ ๔.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ ๕.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ ๖.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ ๗.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ ๘.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ ๙.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ ๑๐.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ ๑๑.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ๑๒.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุง เทพฯ, พระสวดพุทธาภิเษก ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม, ระหว่าง เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร ๒. วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. ๑.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ, ๒.) พระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ, ๓.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์(ผิว) วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี ๔.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี ๕.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี ๖.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาษาสงคราม จ.สมุทรปราการ ๗.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ ๘.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ ๙.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี ๑๐.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี ๑๑.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี, ๑๒.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. ๑.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ๒.) หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ ๓.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี ๔.) หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ๕.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ๖.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร ๗.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร ๘.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร ๙.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร ๑๐.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี ๑๑.) พระอาจารย์ต่วน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช ๑๒.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เเละเวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น. ๑.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ ๒.) พระราชวรญาณมุนี กรุงเทพฯ ๓.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ ๔.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ ๕.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ ๖.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ ๗.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี ๘.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ ๙.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ ๑๑.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่ ๑๒.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเเละจากวัดราชประดิษฐ์ เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น. ๓. ส่วน วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้วรวม ๓ วัน “ครบถ้วน ๑๐๘ รูป” |