พระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ เนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.กาญจนบุรี |
|
|
รายละเอียด |
ชื่อพระ |
พระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ เนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.กาญจนบุรี |
ราคา |
(โทรถาม) |
รายละเอียด |
ดีกรีบัตรรับรองสมคมฯ และรองแชมป์งานใหญ่ล่าสุดเมื่อ 15/3/63 กรุศรีสวัสดิ์ตัวจริงๆ หายากมากถึงมากที่สุดครับ พระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ เนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.กาญจนบุรี ฉายาขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง สวยงาม ดูง่าย คลาสสิคสุดๆ พระท่ากระดานเป็นพระที่สร้างในยุคอู่ทองสันนิฐานว่าผู้ที่สร้างพระท่ากระดานก็คือผู้เรืองเวทย์ซึ่งเป็นฆราวาส มิใช่พระสงฆ์ หรือผู้ที่เรียกกันว่า “ฤๅษี” ในยุคโบราณ เพราะเป็นการสันนิฐานจากแผ่นจารึกลานทองของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและของสุโขทัยซึ่งมีคาบเกี่ยวกับอู่ทองคือจารึกแผ่นลานเงินของวัดบรมธาตุกำแพงเพชร กล่าวถึงการสร้างพระเครื่อง ของบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายฤๅษีทั้งหลาย ๑๑ ตนที่สร้างพระเครื่องมีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือเป็นใหญ่ ก็คือ ฤๅษีพิราลัย ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และก็สันนิฐานกันว่าผู้ที่สร้างพระท่ากระดานก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของเจ้าเมือง “ท่ากระดาน” เมื่อสร้างแล้วก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญในเมืองท่ากระดาน เมืองสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่าในยุคนั้น กำเนิดของพระท่ากระดานครั้งแรกได้ถูกค้นพบที่”กรุถ้ำลั่นทม” เป็นแห่งแรก กรุนี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ ๗๐ ก.ม. อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำแควใหญ่ มิได้อยู่ในเขตตำบลท่ากระดาน พระจากกรุนี้พบในบริเวณถ้ำในบริเวณหน้าถ้ำมีเจดีย์โบราณอยู่หลายองค์พระที่ถูกค้นพบมีอยู่ด้วยกันหลายร้อยองค์ และพบแม่พิมพ์ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่วสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิฐานว่าบริเวณถ้ำลั่นทมนี้คือสถานที่สร้างพระท่ากระดาน และเป็นที่อยู่ของพระฤๅษีผู้สร้างพระท่ากระดานในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ ได้มีการขุดค้นพบพระท่ากระดานอีก ที่กรุวัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง และวัดใต้ (วัดล่าง) ที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ พระที่ถูกค้นพบมีมากพอสมควร คือมีจำนวนรวมตัวกันแล้วประมาณหลายร้อยองค์ พระที่ค้นพบในบริเวณสามวัดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีการปิดทองทุกองค์และด้านหลังจะเป็นล่องหรือแอ่งลึกแทบทุกองค์ พระจะมีสนิมแดงเข้มดูสวยงาม พระที่ถูกค้นพบในยุคนั้นที่ถือว่าสวยและสมบูรณ์มากก็คือวัดกลางซึ่งมีผู้เรียกวัดนี้ว่า “วัดท่ากระดาน”นั้นเองในเวลาต่อมาวัดเหนือหรือวัดบนและวัดใต้หรือวัดล่อง ได้ถูกน้ำกัดเซาะทำให้ตลิ่งพังวัดทั้งสองจึงพังทลายลงสู่ลำน้ำทั้งสองวัดบริเวณวัดตั้งอยู่ริมน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือวัดกลางหรือวัดท่ากระดานเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้มีการขุดค้นพบพระท่ากระดานอีก ที่บริเวณวัด “นาสวน” (วัดต้นโพธิ์) อยู่เหนือที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์เล็กน้อยเป็นบริเวณพระอารามร้างในการพบในครั้งนั้นได้พระท่ากระดานจำนวนไม่มากนักคือจำนวนไม่กี่สิบองค์ วัดที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ อาจกล่าวได้ว่าพระเหล่านั้น นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่าพระกรุเก่า หรือกรุงศรีสวัสดิ์ ทั้งสิ้น นอกเหนือจากกรุขุดพบบริเวณเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ ยังมีการขุดค้นพบที่บริเวณ “วัดหนองบัว” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรีอีก พบจากการปฏิสังขรณ์พระอารามได้พระท่ากระดานประมาณ ๙๐ องค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีการพบพระกระดานอีกเป็นจำนวนมากที่ “วัดเหนือ” (วัดเทวสังฆาราม) ตั้งอยู่ที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีโดยทางวัดได้ทำการเจาะพระเจดีย์องค์ประธาน เพื่อที่จะบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ก็พบไหโบราณซึ่งบรรจุพระท่ากระดานและได้พบพระอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่นพระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม พระท่ากระดานหูช้าง และพระอื่นๆ อีกมาก วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ถือว่าเป็นวัดที่พบพระท่ากระดานที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะพระจะอยู่ในไหและเป็นพระที่สมบูรณ์มากที่สุด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกมากที่ “วัดท่าเสา” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรีนอกจากนั้นยังค้นพบพระท่ากระดานน้อย (พระท่าเสา) อีกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจว่าจะเป็นพระยุคหลังกว่าพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกมากที่ “วัดท่าเสา” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรีนอกจากนั้นยังพบพระท่ากระดานน้อย (พระท่าเสา) อีกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจว่าจะเป็นพระยุคหลังกว่าพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีกานค้นพบพระท่ากระดานอีกที่บริเวณตำบลลาดหญ้าอีก แถวบริเวณใกล้ๆ กับค่ายทหารกองพลที่ ๙ พระที่ค้นพบในครั้งนั้นถือว่าสมบูรณ์มากแต่สนิมของพระท่ากระดานจะมีไขขาวคลุมเกือบทุกองค์และจะมีทองกรุปิดเกือบทุกองค์ จุดเด่นของพระกรุนี้จะมีเกศยาวกว่าทุกกรุ พระที่พบมีอยู่ประมาณกว่า ๕๐ กว่าองค์เท่านั้น ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการพบพระท่ากระดานได้ในถ้ำเมืองอำเภอผาภูมิ พระที่พบจะมีลักษณะผิวพระจะไม่เรียบมีผิวขรุขระเกิดจากการพองของไขสนิม เพราะพระที่มีอยู่ในถ้ำซึ่งมีอากาศชื้นนั่นเอง และพระที่พบส่วนใหญ่จะชำรุดโดยเฉพาะคอจะหักเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่สมบูรณ์มีไม่เกิน ๒๐ องค์ ถือว่าเป็นพระที่เป็นการพบครั้งล่าสุด ถ้าจะแยกเป็นกรุที่พบพระท่ากระดาน ก็พอจำแนกได้ดั่งต่อไปนี้ คือ กรุถ้ำลั่นทม ปีพ.ศ.๒๔๙๗ พบพระประมาณ ๒๐๐ องค์ กรุเหนือ (กรุวัดบน) ปี พ.ศ.๒๔๙๕-๒๔๙๖ พบพระประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ องค์ กรุกลาง (วัดท่ากระดาน ประมาณ ๑๐๐ กว่าองค์ ปีพ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ กรุใต้ (กรุวัดล่าง) ปี พ.ศ.๒๔๙๕-๒๔๙๖ พบพระไม่ถึง ๑๐๐ องค์ กรุวัดนาสวน (วัดต้นโพธิ์) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ได้พระประมาณ ๔๐ องค์ กรุวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ปี พ.ศ.๒๔๙๗ได้พระประมาณ ๙๐ องค์ กรุวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖พบพระท่ากระดานอยู่ในไห ๒๙ องค์ พระท่ากระดานหูช้าง ๘๐๐ องค์ พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม ๒๐๐ องค์ พระโคนสมอ ๑๐๐ องค์ พระปรุหนัง ๒ๆ องค์ วัดท่าเสา ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้พระท่ากระดานไม่กี่สิบองค์ พระท่ากระดานน้อยจำนวนหลายร้อยองค์ บริเวณตำบลลาดหญ้าใกล้ๆ กับ ค่ายทหารกองพลฯ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ประมาณ ๕๐ กว่าองค์ บริเวณถ้ำในเขตอำเภอทองผาภูมิ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พบพระประมาณ ๘๐ องค์ ชำรุดเสียส่วนใหญ่ พระท่ากระดานถ้าจำแนกเป็นกรุใหญ่ๆ ได้ ๒ กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ “กรุเก่า” ก็คือพระที่ถูกค้นพบที่ถ้ำลั่นทมในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ และที่ค้นพบในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์คือกรุบน,กรุกลาง,กรุล่างในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๖และกรุวัดหนองบัวปี พ.ศ. ๒๔๙๗ “กรุใหม่” ก็คือกรุที่ค้นพบที่วัดเหนือ (เทวสังฆราม), กรุสวนใน, กรุท่าเสา, กรุลาดหญ้า และ และกรุในถ้ำในอำเภอทองผาภูมิ พระท่ากระดานนอกจากจะเป็นพระชั้นหนึ่ง ของจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังถูกจัดอยู่ในชุดเบญจยอดขุนพลซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ของพระเนื้อโลหะด้วย ถือว่าเป็นพระที่มีราคาเช่าหาสูง และพุทธคุณนั้นเปี่ยมล้นไปด้วยความขลังไม่ว่าทางแคล้วคลาดหรือคงกระพันชาตรี จนมีผู้กล่าวขานกันว่าพระท่ากระดานนั้นคือ “ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลองเลยทีเดียว” พระท่ากระดานไม่ว่าจะเป็น “พระกรุเก่า” หรือ พระกรุใหม่ ถือว่าสร้างพร้อมกันต่างกันเพียงสถานที่พบและระยะเวลาการขุดพบเท่านั้นเอง อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย |
ชื่อร้านค้า |
|
เบอร์โทรศัพท์ |
0837342514 |
วันที่ลงประกาศ |
28 ก.ค. 2563 |
ผู้ชมทั้งหมด |
10,995 ราย |
ผู้ชมขณะนี้ |
1 ราย |
|
|
|
พระเครื่องที่เกี่ยวข้อง |
|
|