ระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น สุดโหด
 
รายละเอียด
ชื่อพระ ระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น สุดโหด
ราคา (โชว์พระ)
รายละเอียด #ระฆังหลังฆ้อนยุคต้น1ใน5เสือ ระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น...#หลังยันต์...สวยแชมป์ องค์พระล่ำ เม็ดกลมรัศมีด้านบนติดคมชัดทุกเม็ด ฐานบัวคมลึก พิมพ์นิยม ตัดหัว-ตัดท้ายตามสูตร สวยสมบูรณ์ ผิวพรรณเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้งาน ได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่วงการ...ท่านตัดแบ่งมาให้บูชาครับ พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๒ ซม. สูงประมาณ ๑.๗ ซม. จัดสร้างโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของ หม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชสกุล "อิศรางกูรฯ") ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง รูปที่ ๘ ท่านได้สร้าง พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน รุ่นนี้ขึ้นเมื่อ ปี ๒๔๕๓-๒๔๕๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เมื่อปี ๒๔๖๔) ต่อมาท่านได้สร้างพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันนี้อีกครั้งช่วงปี ๒๔๕๘-๒๔๗๐ โดยได้นำแผ่นโลหะที่พระคณาจารย์ต่างๆ ได้ลงอักขระยันต์มาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราช (จำลอง) ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อนพิมพ์นี้ พระที่สร้างในคราวแรกมีกระแสเหลืองทองลูกบวบ นอกจากนี้ยังมีพระเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆสิทธิ์ และเนื้อตะกั่วสนิมแดง (พบน้อยมาก) ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังองค์พระจะตื้น มีสีอ่อนกว่า และบางกว่า สำหรับพระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้นมีจำนวนถึง ๖๐ รูป อาทิ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม (ใต้), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม, หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ฯลฯ (จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน) การสร้างพระสมเด็จเนื้อโลหะทองผสมรุ่นนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่างๆ ทั้งใน จ.พระนคร , ธนบุรี และต่างจังหวัด จำนวนมากให้ท่านลงจารอักขระเลขยันต์ แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพิธีปลุกเสกแผ่นทองเหลืองที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกจากแกนชนวน แล้วจึงเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ ๓ ซม. ความยาวประมาณ ๕ ซม.ความหนาประมาณ ๐.๕ ซม. หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ (บางองค์เลื่อยพลาดไปโดนองค์พระก็มี) แล้วใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ หลังฆ้อน พระบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น ลักษณะพิมพ์พระเป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะบัว ๒ ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์ โดยใบโพธิ์จำลองเป็นเม็ดกลมรายรอบเหนือพระเศียรและลำพระองค์เสมือนพระสมเด็จเนื้อผงพิมพ์ปรกโพธิ์ ด้านหลังเป็นแบบเรียบ บางองค์อาจเห็นรอยแต่งตะไบ สมัยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ แบบ แบบหนึ่งไม่ได้ขัดแต่ง ให้ทำบุญองค์ละ ๑ บาท อีกแบบหนึ่งเป็นพระขัดแต่ง ให้ทำบุญองค์ละ ๒ บาท ปัจจัยทำบุญนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้รวบรวมเอาไปบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถ ทุกวันนี้พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อนได้กลายเป็นของดีที่มีผู้แสวงหากันมาก สนนราคายังไม่สูงเกินไป หากมีโอกาสควรจะได้หาไว้ใช้สักองค์หนึ่ง เป็นพระสายวัดระฆัง อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจสะสม สักการะบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ชื่อร้านค้า

ต้อง จันทบุรี

เบอร์โทรศัพท์ 0641564456
วันที่ลงประกาศ 30 เม.ย. 2563
ผู้ชมทั้งหมด 2,404 ราย
ผู้ชมขณะนี้ 2 ราย
 
พระเครื่องที่เกี่ยวข้อง
พระสังกระจายน์ฝาง
โชว์พระ
0819510513