รูปหล่อโบราณนาซี หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ปี2507 |
|
|
รายละเอียด |
ชื่อพระ |
รูปหล่อโบราณนาซี หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ปี2507 |
ราคา |
(โทรถาม) |
รายละเอียด |
รูปหล่อโบราณนาซี หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ปี2507 จำนวนน้อย เทหล่อที่วัด พระรูปหล่อโบราณรุ่นนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะบรรดาลูกศิษย์นำไปบูชาและแขวนต่างมีประสบการณ์ต่างๆนาๆ...สำหรับหลวงปู่คร่ำวัดวังหว้า ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่กราบเคารพและศรัทธาของชาวบ้านในจังหวัดระยองและทั่วภูมิภาคหรือแม้แต่กระทั่งส่วนภาคกลางที่เคารพศรัทธาและเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของเกจิอาจารย์เมืองระยองท่านนี้ตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ รุ่นแม่ จวบจนถึงปัจจุบันนี้แม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์ยังเสด็จมานมัสการหลายพระองค์
ประวัติกำเนิดหลวงปู่คร่ำมีนามเดิมว่า คร่ำ อรัญวงศ์ ท่านเกิด วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกาตรงกับวันที่๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่ออายุได้ประมาณ๑๑ปีโยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ตรีเจ้าอาวาสวัดวังหว้า
ตำบลวังหว้าซึ่งอยู่ใกล้บ้าน โดยจัดพานดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะนำไปถวายในวันพฤหัสบดี(วันครู)ตามประเพณีการเล่าเรียนและการบวชเรียนของสังคมไทยเราแต่โบราณมาในสมัยนั้นต้องเรียนกันตามวัด อาศัยวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอนการเรียนไม่มีหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจนเช่นปัจจุบันแต่พระก็สอนจนลูกศิษย์สามารถอ่านออกและเขียนได้เป้นอย่างดีทั้งอักษรไทยและอักษรขอมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากตำราต่างๆสมัยก่อนเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจะเขียนด้วยอักศรขอมทั้งสิ้น ไม่มีหนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยเช่นทุกวันนี้ผู้ที่เรียนหนังสือจะต้องเรียนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาขอมด้วยเสมอการเรียนของหลวงปู่คร่ำนั้นมิได้เรียนเฉพาะที่วัดวังหว้าเท่านั้นท่านยังไปเรียนต่อกับสมภารหลำ ที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลวังหว้าอีกด้วยเรียนอยู่จนอายุได้๑๕ปีมีความรู้หนังสือดีแล้วจึงได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพต่อไปสมณเพศ เมื่ออายุครบ๒๐ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทที่วัดวังหว้าเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง
ตรงกับวันที่๑๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับฉายาว่า”ยโสธโร”แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งยศหรือผู้ดำรงยศพระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เจ้าคณะแขวงแกลงวัดราชบัลลังก์พระกรรมวาจารย์ คือพระใบฎีกาหลำ ปัญญายิ่ง รองเจ้าคณะแขวงแกลง วัดพลงช้างเผือกพระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้าหลวงปู่คร่ำมุ่งศึกษาด้านพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพุทธศาสนาและหลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นวัดวังหว้ายังไม่มีสำนักสอนธรรมหลวงปู่ต้องไปเรียนที่วัดพลงช้างเผือก และสอบได้นักธรรมตรีและโทเป็นลำดับนอกจากเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณและตำรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถนำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดีในสมันที่ยังไม่มีสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังเช่นทุกวันนี้ วิชาที่หลวงปู่ชำนาญเป็นพิเศษ คือกรรมวิธีต่อและประสานกระดูกอันเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆมีผู้มารับการรักษาที่วัดวังหว้าเป็นประจำและหายกลับไปทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วการศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมสาร(หลวงพ่อโต) วัดเขากะโดนและวัดเขาบ่อทอง ซึ่งหลวงพ่อโตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานชำนาญการธุดงควัตร เป็นผู้มีพลังจิตรแก่กล้าและวิทยาคมขลังเป็นเลิศหลวงปู่คร่ำได้ร่ำเรียนด้วยอุตสาหะพากเพียรจนมีความรู้ความชำนาญในวิชาอาคมหลายด้านเมื่อกลับมาที่วัดวังหว้าก็ได้ฝึกฝนพลังจิตเจริญสมาธิภาวนาโดยตลอดมิได้ขาดในกาลต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ฝึกฝนร่ำเรียนมานั้นให้เป็นประโยชน์ต่อญาติโยมและบุคคลทั่วไปนานัปการจนชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกลไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ
การปกครองและอบรมสานุศิษย์หลังจากหลวงปู่อบรมได้ ๔ พรรษา
พระอธิการเผื่อนเจ้าอาวาสวัดวังหว้าได้มรณภาพลงหลวงปู่คร่ำได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงปู่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า
ปี พ.ศ. ๒๔๗๔เป็นเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙เป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อหลวงปู่สูงอายุขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงลาออกจากเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อมุ่งสร้างเสนาสนะและปฎิสังขรณ์วัดวังหว้าจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้หลวงปู่คร่ำได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร ท่านได้กำหนดระเบียบการปกครองของวัดวังหว้าให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติและระเบียบคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งระเบียบต่างๆของทางราชการทุกประการกฎระเบียบของวัด ภิกษุสามเณรทุกรูปในวัด ต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดต้องตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัยต้องทำวัตรทุกเช้าเย็น ภายในบริเวณวัดงดเว้นอบายมุขทุกชนิดของดีหลวงปู่ วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังของหลวงปู่คร่ำ มีมากมายหลายอย่าง ทั้งตะกรุดโทนสีผึ้งเมตรตา ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่างๆสิ่งที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของหลวงปู่คร่ำ คือผ้ายันต์พัดโบก ชื่อเต็มว่า”ผ้ายันต์พัดโบกมหาลาภหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง”แบ่งเป็นสองท่อนท่อนบนสีแดงท่อนล่างสีขาวประกอบด้วยรูปหลวงปู่และยันต์หลายชนิดผ้ายันต์พัดโบกนี้หลวงปู่ทำขึ้นเพื่อป้องกันวาตภัย ทั้งลมและฝนในยามที่มรสุมรุนแรงจะพัดทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนผ้ายันต์พัดโบกจะโบกให้ลมเปลี่ยนทิศทาง รวมทั้งโบกเอาความชั่วร้ายอื่นๆมิให้กล้ำกรายมาถึงบ้านเรือนของผู้ที่ครอบครองผ้ายันต์นี้ได้ผ้ายันต์พัดโบกเป็นยันต์พัดโบกให้ร้านค้าต่างๆโบกนำลาภผลเข้าสู่อาคารร้านค้าอีกด้วยบรรดาบ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกเกือบทุกบ้านจะมีผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำไว้คุ้มภัยและเป็นมงคลแก่บ้านเรือนรวมไปถึงกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศไทยก็ปรากฏยันต์พัดโบกของหลวงปู่คร่ำอยู่ทั่วไปแม้แต่ในประเทศลาว ผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำยังโบกสะบัดไปถึงเวียงจันทน์ในประเทศเขมรซึ่งเป็นดินแดนแห่งไสยศาสตร์ผ้ายันต์พัดโบกของหลวงปู่ก็โบกไปทั่วจากคนไทยที่ไปทำมาค้าขายที่นั่นเมตตาธรรมค้ำจุนโลกตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์หลวงปู่ปฏิบัติตนสำรวมในศีลอย่างเคร่งครัดได้รับความเคารพนับถือและศรัทธาจากสานุศิษย์และมหาชนทั่วประเทศที่เดินทางมานมัสการทุกวันหลวงปู่จะนั่งพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้พูดคุยด้วยถ้าพอมีเวลาใครขอให้ช่วยทำอะไรถ้าไม่ขัดต่อศีลธรรมและเป็นเรื่องที่ดีงามแล้วหลวงปู่ไม่เคยขัดช่วยทุกเรื่องตั้งแต่เริ่มเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยสร้างวัดสร้างโรงเรียนหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลวังหว้าทุกโรงเรียนหลวงปู่ได้มีส่วนช่วยก่อสร้างและทะนุบำรุงตลอดเวลาสมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประทวนพ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทพ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอกพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระมงคลศีลาจารย์อาพาธเนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมาต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมายหลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชาจนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิดมีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้งแต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลาจึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จาก โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชาตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชาโดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือนมรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชาท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าวต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศลนับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้ ในการปลุกเสกครั้งแรกหลวงปู่คร่ำมาเป็นประธานในพิธีปลุกเสกที่วัดวังหว้าโดยมีการปลุกเสกร่วมกับพระเกจิสายตะวันออกในยุคนั้นเช่นหลวงปู่ทิมวัดระหารไร่ฯ ทำพิธีปลุกเสกอย่างเข็มขลัง เนื้อหามวลสารประกอบด้วยโลหะชนวนเก่าของพระกริ่งสายวัดสุทัศน์และวัดวัดบวรนิเวศ ฯและแผ่นยันต์จากเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งเกจิอาจารย์ในยุคนั้นร่วมปลุกเสกไว้เป็นชนวนมวลสารสืบไป เช่น... พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ... หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ... หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ ... หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ... หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ... หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ... หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ... หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ... หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม... หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ... หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ... หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ... หลวงปู่เขียว วัดหรงบน ... หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ... หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ... หลวงปู่สี วัดสะแก ... หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ... หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ ... หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ ... หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว ... พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ... หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา ... หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ... หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม ... หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ... หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน ... หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระหงส์ ... หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ... หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ ... หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษฐ์ ... หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ... หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด ....หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ... หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน ... หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ... หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ... หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง ... หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม ... หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว ... หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ ... หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร... เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์ ... เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์ ... หลวงพ่อดี วัดเหนือ... หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา ... หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด ... หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ... หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ... หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่าฯ ... หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม ... หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ ... หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช ... หลวงพ่อสอน วัดสิงสาง ... หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ... หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ ... หลวงพ่อนิล วัดครบุรี ... หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา... หลวงพ่อบุดดา วัดกลางชูศรี ... หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา และเกจิท่านอื่นๆอีก รวมแล้วกว่า 200 รูป......... แผ่นยันต์จากพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ และยังมีทองคำผสมลงไปด้วย เมื่อเททองเสร็จ ก็ปลุกเสกที่วัดวังหว้าอีกโดยมีพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีหลายองค์ และได้อัญเชิญดวงวิญญาณอดีตเจ้าอาวาสวัดวังหว้าทุกองค์มาทรงอธิฐานจิตด้วย ปัจจุบันพระเครื่องหลวงปู่คร่ำที่ออกโดยวัดวังหว้านั้น ราคาขยับไปแรงมาก ส่วนที่ท่านสร้างให้ไว้กับวัดอื่นๆ ก็ล้วนขยับตามไปแล้ว แต่ที่น่าจับตามองก็รูปหล่อนาซีหลวงปู่คร่ำวัดวังหว้าอุดกริ่งปี07สร้างน้อย ส่วนประสบการณ์ทั้งเมตตาและคงกระพันเป็นเยี่ยม รูปหล่อนาซีหลวงปู่คร่ำวัดวังหว้าอุดกริ่งถือได้ว่าเป็นรูปหล่อที่สวยงามเท่าที่ได้มาครอบครองเป็นเนื้อโลหะผสม ราคาเริ่มขยับขึ้นทุกวันรีบเก็บก่อนแพงกว่านี้ โดยเฉพาะเนื้อที่หายากเช่นเนื้อโลหะผสมก้นเรียบฐานสูงซึ่งสร้างน้อยหลวงพ่อเมตตาปลุกเสกให้เป็นพิเศษซึ่งกำลังมีการซุ่มเก็บเงียบ เนื่องจากพุทธศิลป์ และพิธี รวมทั้งทันเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกด้วย |
ชื่อร้านค้า |
|
เบอร์โทรศัพท์ |
0814259921 |
วันที่ลงประกาศ |
30 มี.ค. 2563 |
ผู้ชมทั้งหมด |
1,666 ราย |
ผู้ชมขณะนี้ |
1 ราย |
|
|
|
พระเครื่องที่เกี่ยวข้อง |
|
|